วัตถุประสงค์

1. เมื่อกำหนดสถานการณ์การชั่งให้ สามารถชั่งและบอกน้ำหนักเป็นหน่วยกิโลกรัม กรัม และขีดได้

2. เมื่อกำหนดสถานการณ์การชั่งให้ สามารถเลือกใช้เครื่องชั่งและหน่วยการชั่งที่เป็นมาตรฐานได้อย่างเหมาะสม

3. เมื่อกำหนดหน่วยน้ำหนักเป็นกิโลกรัม กรัม และขีดให้ สามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยกับน้ำหนักได้

“การชั่ง” เป็นการหาน้ำหนักของสิ่งของต่างๆ โดยใช้เครื่องชั่งชนิดต่างๆ ได้แก่

Ø เครื่องชั่งสองแขน ใช้ชั่งของเบา ๆ เช่น ยาสมุนไพร ซองจดหมาย ฯลฯ

Ø เครื่องชั่งสปริง ใช้ชั่งสิ่งของพวกอาหาร ผัก ผลไม้

Ø เครื่องชั่งน้ำหนักตัว ชั่งน้ำหนักตัวคน สัตว์

Ø เครื่องชั่งแบบตุ้มเลื่อน ชั่งของที่หนักๆ มีน้ำหนักเป็นร้อยกิโลกรัม เช่น กระสอบข้าวสาร เป็นต้น

เครื่องชั่ง

การอ่านค่าน้ำหนัก

น้ำหนัก  มีหน่วยเป็น กิโลกรัม  กรัม  และขีด

C        น้ำหนัก  1  ขีด                    =            น้ำหนัก   100  กรัม

C        น้ำหนัก  5  ขีด                    =            น้ำหนัก   500  กรัม

C        น้ำหนัก  10  ขีด                 =            น้ำหนัก   1000  กรัม

ดังนั้น         น้ำหนัก  1  กิโลกรัม          =            น้ำหนัก   1000  กรัม

น้ำหนัก  1  กิโลกรัม          =            น้ำหนัก   10  ขีด

ตาชั่ง

กิจกรรมลองทำดู  ให้นักเรียนอ่านค่าและเติมคำตอบลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

การชั่ง

การชั่ง1